ทำความรู้จักกับภาษา SQL มันคือภาษาที่มีไว้สำหรับอะไร

ทำความรู้จักกับภาษา SQL มันคือภาษาที่มีไว้สำหรับอะไร

สำหรับนักเขียนโปรแกรมทั้งหลายคงจะคุ้นเคยกับภาษา SQL กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานแนวนี้โดยตรงก็อาจจะเกิดคำถามขึ้นในใจว่าภาษา SQL นั้นคืออะไรกันแน่ ถ้าอย่างนั้นลองมาทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้นกัน

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับความหมายของภาษา SQL กันก่อน ตัวย่อ SQL นั้นก็มีที่มาจากคำว่า “Structured Query Language” นั่นเอง มันมีคำเรียกในภาษาไทยว่า “ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง” มันคือภาษาที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการเขียนโปรแกรม เพื่อนำไปใช้ในการจัดการฐานข้อมูลโดยเฉพาะ มันเป็นภาษาระดับมาตรฐานกลาง ซึ่งเป็นระบบเปิด ซึ่งมาตรฐานที่ว่านี้ก็เป็นมาตรฐานจากทาง ANSI ของทางสหรัฐอเมริกา

แรกเริ่มเดิมที SQL ถูกตั้งชื่อเอาไว้ว่า SEQUEL หรือย่อมาจาก Structured English Query Language แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนมาเป็น SQL อย่างที่ใช้กันในปัจจุบัน เนื่องจากว่าชื่อ SEQUEL นั้นดันไปซ้ำกับชื่อเครื่องหมายการค้าที่ถูกจดทะเบียอย่างถูกต้องเรียบร้อยของบริษัทผลิตเครื่องบินบริษัทหนึ่งของสหราชอาณาจักร

เราสามารถที่จะใช้คำสั่งของภาษา SQL กับฐานข้อมูลแบบไหนชนิดใดก็ได้ตามสะดวก มันสามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวกโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องยึดติดกับฐานข้อมูลใดๆ เพียงแค่ฐานข้อมูลเดียวเท่านั้น เล่นเกมส์ตกปลา เราสามารถจัดการข้อมูลเอาไว้สำหรับค้นหาข้อมูลในภายหลัง, จะเปลี่ยนแปลง, เพิ่มเติม หรือว่าลดทอนข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในฐานะข้อมูลในรูปแบบตารางที่เป็นคอลัมน์และเป็นแถวได้

การทำงานดังกล่าวของ SQL สามารถแยกประเภทได้ตามนี้คือ Select Query จะใช้สำหรับการดึงเอาข้อมูลที่เราต้องการออกมา, Update Query จะใช้สำหรับการที่เราต้องการเข้าไปแก้ไขข้อมูล, Insert Query จะใช้สำหรับการที่เราต้องการเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไป และสุดท้าย Delete Query จะใช้สำหรับการลบหรือตัดทอนข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกไปนั่นเอง

โครงสร้างของภาษา SQL นั้นสามารถเข้าใจได้ง่าย มันไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรที่จะทำให้ผู้ใช้งานต้องปวดหัว อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงมากอีกด้วย มันสามารถทำงานในรูปแบบที่ซับซ้อนได้อย่างสบายโดยใช้คำสั่งเพียงแค่ไม่กี่คำสั่งเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า SQL นั้นเหมาะนำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลในเชิงสัมพันธ์

สำหรับซอฟท์แวร์ที่ได้นำเอาภาษา SQL มาใช้งานนั้นก็มีมากมาย ทั้งซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ และซอฟต์แวร์เปิด และทั้งหมดนี้ก็คือคำแนะนำเบื้องต้นที่จะช่วยให้ทุกคนได้รู้จักกับภาษา SQL กันมากขึ้น ซึ่งก็หวังว่าแม้คุณจะไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ระดับมืออาชีพ แต่ก็จะมีความรู้เกี่ยวกับภาษา SQL พอสมควร อย่างน้อยก็รู้ว่ามันคืออะไรและใช้เพื่ออะไรก็พอ ยังไม่ต้องถึงขั้นเรียนรู้เพื่อนำเอามันไปใช้จริงๆ ขนาดนั้นหรอก

เรียน T-SQL และ Stored Procedure กับลาภลอย

 

เรียน T-SQL & Stored Procedure  กับลาภลอย

หลักสูตรพัฒนาคิวรีและสโตร์โพรซีเจอร์ในภาษาทีเอสคิวแอล

เพื่อการสร้างโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ

COURSE DESCRIPTION 

หลักสูตรพัฒนาคิวรีและสโตร์โพรซีเจอร์ในภาษาทีเอสคิวแอลเพื่อการสร้างโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ หลักสูตรนี้ไม่ใช่การเขียนโปรแกรมในวินโดวส์หรือการเขียนโปรแกรมในเว็บ แต่เป็นหลักสูตรที่เน้นการคิวรีข้อมูลจากฐานข้อมูลไมโครซอฟต์เอสคิวเอล ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการพื้นฐานที่สำคัญหลายอย่าง ที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้สำรวจแง่มุมต่างๆ ของการทำงานกับฐานข้อมูลสัมพันธ์ อาธิ แนวคิดรวบยอดที่อยู่เบื้องหลังภาษาทีเอสคิวแอล โครงสร้างของภาษาทีเอสคิวแอล ขอบเขตของตัวแปร การค้นหาข้อผิดพลาดในโค้ด การสร้างและใช้งานตารางสืบ การสร้างและใช้งานตารางไพวอต การสร้างและใช้งานเมตริกซ์ วิธีพัฒนาคิวรีตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงระดับที่ซับซ้อน กลเม็ดเด็ดพรายในการพัฒนาคิวรีที่ใช้จริงในงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน

สโตร์โพรซีเจอร์นับเป็นหัวข้อที่สำคัญมากในการคิวรีข้อมูลจากฐานข้อมูลไมโครซอฟต์เอสคิวแอล หน่วยงานน้อยใหญ่จำนวนมากใช้สโตร์โพรซีเจอร์เป็นแกนหลัก หลักสูตรนี้ให้น้ำหนักกับการพัฒนาสโตร์โพรซีเจอร์เป็นสำคัญ ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนให้สามารถสร้าง แก้ไข ค้นจุดผิดของสโตร์โพรซีเจอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจในยุคปัจจุบันได้ทั้งแบบในวินโดวส์และแบบในเว็บ และหัวข้อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้คือการพัฒนาโค้ดฐานข้อมูลแบบวัตถุวิธี (โอโอพี) เช่นการนิยามสโตร์โพรซีเจอร์ด้วยภาษาซีชาร์พ และการเข้าถึงฐานข้อมูลด้วย โออาร์/เอ็มและลิงค์

วันที่ ๑: วิธีเขียนคิวรีด้วยภาษาทีเอสคิวแอล

การเขียนคิวรีด้วยภาษาทีเอสคิวแอลมีแนวคิดพื้นฐานที่แตกต่างจากการเขียนโปรแกรมวัตถุวิธีอย่างในภาษาซีชาร์พ (หรือภาษาโปรแกรมมิงอื่นๆ) โดยสิ้นเชิง ในภาษาซีชาร์พจะเน้นการสร้างวัตถุและกระบวนการทำงาน ในขณะที่ภาษาทีเอสคิวเอลเน้นผลลัพธ์และแนวคิดแบบเซต (การจัดกลุ่มทางคณิตศาสตร์)

ในวันที่หนึ่งผู้เรียนจะปรับความคิดในการเขียนโค้ด จากความคิดที่เน้นการสร้างวัตถุและกระบวนการทำงาน มาเป็นความคิดที่เป็นแบบเซต เพื่อเข้าพร้อมเข้าสู่โลกแห่งการเขียนคิวรีในภาษาทีเอสคิวเอล นอกจากนั้นผู้เรียนยังจะได้เรียนรู้หลักการสำคัญพื้นฐานในภาษาทีเอสคิวเอลอีกหลายหัวข้อ อาธิ การเขียนโปรแกรมเป็นแบชต์ วิธีใช้ตัวแปร โครงสร้างของโค้ด วิธีสร้างและบำรุงฐานข้อมูลด้วยโค้ด ฯลฯ

  • หน่วย ก: แนะนำโครงสร้างหลักสูตร และ (แถมท้าย) ด้วยหลักจารีตนิยมในภาษาทีเอสคิวแอล
  • หน่วย ข: วิธีใช้ตัวแปรในภาษาทีเอสคิวแอล โครงสร้างของโค้ด และส่วนควบคุมการไหลของโค้ด
  • หน่วย ค: วิธีใช้คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและบำรุงฐานข้อมูลด้วยโค้ด
  • หน่วย ง: วิธีเขีนโค้ดเพื่อการสืบค้นฉายแสดงข้อมูลระดับสูง วิธีเขียนคิวรีในแง่มุมต่างๆ ที่สำคัญ
 

วันที่ ๒:  เรียนรู้ภาษาทีเอสคิวแอลระดับที่สูงขึ้น

เนื่องจากงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น มีความต้องการสืบค้นฐานข้อมูลอย่างซับซ้อน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากท่านจะพบเห็นคิวรีที่มีความยาวหลายร้อยบรรทัด หรือยืดยาวหลายหน้าจอ ดังนั้นในวันที่สองนี้ผู้เรียนจะได้เรียนวิธีเขียนคิวรีในหัวข้อต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเขียนคิวรีในงานที่มีความซับซ้อนสูง

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนในวันที่สองเป็นเทคนิคที่สำคัญและใช้บ่อยในการเขียนคิวรีซับซ้อน เช่นการยักย้ายถ่ายเทข้อมูลตัวอักษร การใช้ฟังก์ชันคณิตศาสตร์ การบริหารเวลา วิธีสร้างรายงานโดยใช้คำสั่งในกลุ่มคิวบ์และไพวอต วิธีสร้างเมตริกซ์ วิธีเขียนคิวรีซ้อนคิวรี และกลเม็ดที่สำคัญอื่นๆ เพื่อการเขียนคิวรีอย่างมีพลวัต

  • หน่วย ก: วิธียักย้ายถ่ายเทข้อมูลตัวอักษร การใช้ฟังก์ชันคณิตศาสตร์ การบริหารเวลา
  • หน่วย ข: วิธีสร้างรายงานอย่างง่ายโดยใช้คำสั่งในกลุ่มคิวบ์และไพวอต
  • หน่วย ค: วิธีสร้างเมตริกซ์ และกลเม็ดเพื่อการเขียนโค้ดอย่างมีพลวัต
  • หน่วย ง: วิธีเขียนคิวรีที่ซ้อนกันหลายชั้น
   

วันที่ ๓: วิธีสร้างและใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์

สโตร์โพรซีเจอร์คือออพเจ็กต์ฐานข้อมูล ที่ถูกนำไปใช้งานในโครงการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจที่สำคัญแทบทุกโครงการ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะสโตร์โพรซีเจอร์เป็นกลไกหลักที่ทำให้เกิด "การเชื่อมหลวม" ซึ่งเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในงานวิศวกรรมซอต์แวร์  ทักษะในการสร้างและใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์ จึงเป็นคุณสมบัตหลักข้อหนึ่งของผู้ที่จะรับหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ

ในวันที่สามนี้ผู้เรียนจะได้สำรวจกลเม็ดเด็ดพรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์ อาธิ วิธีนิยามสโตร์โพรซีเจอร์ วิธีเรียกใช้สโตร์โพรซีเจอร์ด้วยคำสั่งในภาษาทีเอสคิวเอล วิธีนิยามสโตร์โพรซีเจอร์แบบมีพารามิเตอร์ นอกจะมีเรื่องสโตร์โพรซีเจอร์แล้วในวันที่สามนี้ ยังมีเรื่องสำคัญในการเขียนคิวรีภาษาทีเอสคิวเอลอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือวิธีนิยมฟังก์ชันขึ้นใช้เอง

  • หน่วย ก: วิธีนิยาม จักการ และเรียกใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์
  • หน่วย ข: วิธีนิยามสโตร์โพรซีเจอร์แบบมีพารามิเตอร์และมีค่าส่งกลับ
  • หน่วย ค: กลเม็ดเด็ดพรายต่างๆ ในการเขียนโค้ดสโตร์โพรซีเจอร์
  • หน่วย ง: วิธีนิยาม จัดการ และเรียกใช้งานฟังก์ชันที่ผู้ใช้นิยามขึ้นเอง

 

วันที่ ๔: วิธีใช้งานทีเอสคิวเอลร่วมกับดอตเน็ต

โปรแกรมไมโครซอฟต์เอสคิวเอลเซอฟเวอร์ตั้งแต่เวอร์ชันสองพันห้าขึ้นไปมีนวัตกรรมอันวิเศษอยู่หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการมีตัวรันทามน์ของดอตเน็ต (ซีเอลอาร์) ฝังอยู่ภายในด้วย นั่นหมายความว่าท่านสามารถนิยามออพเจ็กต์ทางด้านโปรแกรม (อาธิ ทริกเกอร์ และฟังก์ชันที่ผู้ใช้นิยามเอง) ได้ด้วยภาษาซีชาร์พ ทำให้นอกจากออพเจ็กต์ทางด้านโปรแกรมเหล่านี้ทำงานอยู่ภายในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการดูแลจัดการ (จากไมโครซอฟต์เอสคิวเอลเซอฟเวอร์) เป็นอย่างดีแล้ว พวกมันยังมีภาวะเป็นสแตติกไทปเซฟโดยสมบูรณ์อีกด้วย

ในวันที่สี่นี้ท่านจะได้เรียนวิธีใช้ประโยชน์จากบูรณาการซีเอลอาร์ของไมโครซอฟต์เอสคิวเอลเซอฟเวอร์ อาธิ การเขียนโค้ดเพื่อนิยามสโตร์โพรซีเจอร์โดยใช้หลักการวัตถุวิธีด้วยภาษาซีชาร์พ การเขียนโปรแกรมแบบวินฟอร์มและเว็บฟอร์มเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้หลักการวัตถุวิธี วิธีเรียกใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์จากภายในโปรแกรมแบบวินฟอร์มและเว็บฟอร์ม

  • หน่วย ก: วิธีเรียกใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์จากโปรแกรมประยุกต์ภาษาซีชาร์พร่วมกับ โออาร์/เอ็ม
  • หน่วย ข: วิธีประยุกต์ใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์ร่วมกับเว็บแอพลิเกชัน
  • หน่วย ค: วิธีเขียนโค้ดเพื่อนิยามสโตร์โพรซีเจอร์โดยใช้หลักการวัตถุวิธีด้วยภาษาซีชาร์พ
  • หน่วย ง: กลเม็ดในการใช้สโตร์โพรซีเจอร์เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ

ทำความรู้จัก LINQ [ตอน2]

Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

ตัวอย่างเนื้อหาของหนังสือ เรีนรู้ด้วยตนเอง LINQ

   [ตอน2]

 

ข้อดีของ LINQ
ก่อนหน้าที่จะมี LINQ การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูลคละแบบ ท่านจำเป็นต้องใช้ API (Application Programming Interface ตัวเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์) ที่แตกต่างกันหลายแบบ แต่ละแบบมีเทคโนโลยีและวิธีใช้งานเป็นของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อท่านติดต่อกับ SQL2008 ท่านต้องใช้ ADO.NET เมื่อจะติดต่อกับแฟ้มข้อมูล XML ท่านต้องใช้ API ที่อยู่ภายในเนมสเปส System.Xml สภาพการเช่นนี้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่กรรมกรซอฟต์แวร์กันทั่วหน้า เพราะวิธีเขียนโค้ดติดต่อกับข้อมูลมีโมเดลหลายแบบ ขาดความคงเส้นคงวา ดีใจได้! เพราะต่อไปนี้จะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว LINQ จะช่วยให้ท่านทำงานกับแหล่งข้อมูลทุกชนิดได้ด้วยวิธีที่เหมือนๆ กันหมด

ความคงเส้นคงวาเช่นนี้ช่วยให้ชีวิตของกรรมกรซอฟต์แวร์สะดวกสบายขึ้นมาก เพราะเมื่อท่านชำชองวิธีติดต่อกับแหล่งข้อมูลชนิดหนึ่งแล้ว ท่านจะสามารถเขียนโค้ดติดต่อกับแหล่งข้อมูลชนิดอื่นได้โดยใช้ความรู้เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นเมื่อท่านช่ำชองวิธีคิวรีข้อมูลในอาร์เรย์ด้วย LINQ แล้ว ท่านจะสามารถคิวรีข้อมูลในฐานข้อมูลได้โดยไม่ต้องเรียนรู้วิธีทำใหม่ทั้งหมด เพราะนับว่าท่านได้เรียนแนวคิดแนวปฏิบัติที่สำคัญต่างๆ ใน LINQ ไปมิใช่เล็กน้อยแล้ว

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ LINQ คือนอกจากท่านจะไม่ต้องห่วงว่าคิวรีจะผิดไวยากรณ์ เพราะตัวแปลภาษาจะตรวจสอบ และแจ้งความผิดพลาดให้อย่างที่เรียนไปแล้ว ส่วนอินเทลลิเซนส์ (IntelliSense คุณสมบัติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสนอแนะคำที่เหมาะขณะป้อนพิมพ์โค้ดของ VS2008) ยังสามารถทำงานกับ LINQ ได้อย่างก้าวหน้า ช่วยให้การป้อนพิมพ์โค้ดทำได้อย่างสนุก

เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามอีกประการหนึ่งคือ LINQ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานกับข้อมูลเท่านั้น การผสาน LINQ เข้ากับ C# ยังทำให้ภาษา C# เปลี่ยนแปลงไปอย่างสู่รูปโฉมใหม่อีกด้วย วิธีเขียนโค้ดของท่านจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เพราะในหนังสือเล่มนี้ท่านจะได้เรียนรู้วิธีใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในภาษา C# ที่จะช่วยให้โค้ดของท่านสั้นกระชับแต่จะทรงพลังกว่าเดิม

ภาพ 1-6: ส่วนอินเทลลิเซนส์ (IntelliSense คุณสมบัติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสนอแนะคำที่เหมาะขณะป้อนพิมพ์โค้ดของ VS2008) ยังสามารถทำงานกับ LINQ ได้อย่างก้าวหน้า

ชุดเครื่องมือ LINQ
LINQ เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน ในด้านหนึ่งมันเป็นชุดเครื่องมือเพื่อใช้ทำงานกับข้อมูล และในอีกด้านหนึ่งมันมีภาวะเป็นส่วนที่เพิ่มขยายความสามารถของภาษา C# ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะพูดถึง LINQ ในแง่ที่เป็นชุดเครื่องมือ ท่านอาจมองว่า LINQ เป็นกล่องเครื่องมือที่มีเครื่องมือมาให้หลายอย่างดังนี้

  • LINQ to Object: เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านทำคิวรีกับข้อมูลที่อยู่ภายในดาต้าคอลเลคชันภายในหน่วยความจำ
  • LINQ to DataSet: เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านทำคิวรีกับข้อมูลที่อยู่ภายในดาต้าเซต
  • LINQ to SQL: เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านทำคิวรีกับข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูล
  • LINQ to Entity: เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านทำคิวรีกับข้อมูลที่อยู่ภายในออพเจ็กต์แบบ ADO.NET เอ็นทิตีเฟรมเวิร์ค
  • LINQ to XML: เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านทำคิวรีกับข้อมูลที่อยู่ภายในแฟ้มข้อมูล XML

ในหนังสือเล่มนี้ท่านจะได้เรียนเครื่องมือที่ LINQ มีมาให้ทั้งห้าแบบนี้โดยละเอียด เครื่องมือห้าแบบนี้บางทีเรียกว่าตัวให้บริการหรือโพรไวเดอร์ (LINQ Provider ย่อ LP) ลองพิจารณาภาพ 1-7 จะเห็นว่าส่วนบนสุดคือภาษาที่ใช้งานกับ LINQ ได้ (ขณะนี้มีเพียงสองภาษาคือ C# 3.0 และ VB 9.0) ระดับถัดลงไปจากภาษาคือส่วนเพิ่มขยายหรือเปลี่ยนแปลงภาษาเพื่อให้ใช้งาน LINQ ได้ ประกอบด้วยสิ่งหลักสามสิ่งคือ ตัวดำเนินการคิวรีมาตรฐาน (Standard Query Operators ย่อ SQO) นิพจน์คิวรี (Query Expression ย่อ QE) และนิพจน์ต้นไม้ (Expression Tree ย่อ ET)

ถัดจากส่วนเพิ่มขยายหรือเปลี่ยนแปลงภาษาเพื่อให้ใช้งาน LINQ ได้คือ LP ประกอบด้วยตัวให้บริการห้าตัวคือ LINQ to Object, LINQ to XML, LINQ to SQL, LINQ to DataSet และ LINQ to Entities ในอนาคตทีมงานผู้สร้าง LINQ อาจเพิ่ม LP แบบใหม่ๆ ขึ้นอีกได้ กรอบล่างสุดคือแหล่งข้อมูลที่ใช้ทำคิวรี (Data Source ย่อ DS) โดย DS แต่ละแบบจะสัมพันธ์กับ LP แต่ละตัว

โปรดทราบว่าส่วน LP ไม่ใช่โปรแกรมที่แยกต่างหากหรือปลั๊กอิน แต่เป็น นวัตกรรมที่ถูกผนวกไว้กับภาษาเขียน C# 3.0เลย ที่เป็นไปได้เช่นนั้นเพราะ NETFX และภาษา C# ถูกดัดแปลงต่อเติมเพื่อให้รองรับ LINQ ได้ดังจะอธิบายรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

เนื่องจาก DS แบบ RDBMS, DataSet และ ADO.NET Entity Framework ล้วนสัมพันธ์กับฐานข้อมูลดังนั้นเราจึงอาจจัด LP แบบ LINQ to SQL, LINQ to DataSet และ LINQ to Entities ไว้เป็นกลุ่มเดียวกันได้อย่างที่เห็นในภาพ 1-8

ภาพ 1-7: สถาปัตยกรรม LINQ ที่ประกอบด้วยส่วนหลักสี่ส่วนคือภาษาโปรแกรม ส่วนเพิ่มขยายหรือเปลี่ยนแปลงภาษาเพื่อให้ใช้งาน LINQ ได้ ส่วนตัวให้บริการ LINQ และแหล่งข้อมูล

ภาพ 1-8: เราอาจจัด LP แบบ LINQ to SQL, LINQ to DataSet และ LINQ to Entities ไว้เป็นกลุ่มเดียวกันได้

ความเปลี่ยนแปลงในภาษา C#
การจะทำให้ภาษา C# ใช้งาน LINQ ได้ ฮาเยสเบิร์ก จำเป็นต้องเสริมเพิ่มสิ่งจำเป็นให้แก่ NETFX และภาษา C# การเพิ่มที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียง “วากยสัมพันธ์แช่อิ่ม” (Syntactic sugar หมายถึงวากยสัมพันธ์ที่ไม่ได้เพิ่มความสามารถให้ภาษา แต่มีไว้เพื่อให้เขียนโค้ดได้สะดวกหรือสง่างามขึ้น) เพื่อให้ท่านคิวรีฐานข้อมูลในภาษา C# ได้สะดวกขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มเติมที่ทำให้ท่านสามารถเขียน “โปรแกรมเชิงเจตจำนง” (Declarative Programming ย่อ DP) ได้

สาเหตุที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ DP เพราะภาษาเพื่อการคิวรีข้อมูลในฐานข้อมูลสัมพันธ์ที่นักเขียนโค้ดคุ้นเคยที่สุดคือภาษา SQL เป็นภาษาแบบ DP ซึ่งเน้นการระบุว่าต้องการผลลัพธ์อย่างไร มีหลักการคิดแตกต่างจากภาษา C# ที่เป็นภาษาเชิงกำหนด (Imperative Programming ย่อ IP) ซึ่งเน้นการระบุว่าต้องการให้ดำเนินการอย่างไร

ในชั้นแรกส่วน DP ที่ถูกเพิ่มเข้าใน C# 3.0 มีเจตนาให้ใช้คิวรีข้อมูลเท่านั้น แต่ภายหลังแนวคิดนี้คลี่คลายออกครอบคลุมส่วนที่ไม่ใช่คิวรีด้วย ดังนั้นใน C# 3.0 นอกจากท่านจะสามารถเขียนโปรแกรมตามลัทธิ IP อย่างที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิมแล้วท่านยังอาจเขียนโปรแกรมตามลัทธิ DP ได้อีกด้วย

ต่อไปลองมาดูตัวอย่างสิ่งที่เพิ่มขึ้นในภาษา C# เพื่อให้คิวรีข้อมูลได้โดยใช้ LINQ สมมุติว่าท่านได้รับโจทย์ดังนี้ “จงคิวรีข้อมูลในตาราง Products ในฐานข้อมูล AdventureWork2008 เฉพาะแถวที่รหัสสินค้ามากกว่า 2 และชื่อสินค้านำหน้าด้วย A จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใส่ในโครงสร้างแบบ XML ในหน่วยความจำ” โจทย์แบบนี้หากไม่ใช้ LINQ ท่านจะต้องเขียนโค้ดโดยใช้เทคโนโลยีสองอย่างผสมกัน คือใช้ ADO.NET เพื่อคิวรีฐานข้อมูล และใช้เนมสเปส System.Xml ของ NETFX เพื่อจัดการ XML แต่ถ้าใช้ LINQ โค้ดจะเป็นอย่างที่เห็นในภาพ 1-9

โค้ดในภาพ 1-9 บรรทัดที่ 13 ถึง 20 ทำหน้าที่คิวรีข้อมูลในตาราง Products ในฐานข้อมูล AdventureWork2008 เฉพาะแถวที่รหัสสินค้ามากกว่า 2 และชื่อสินค้านำหน้าด้วย A บรรทัดที่ 21 ถึง 29 ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ไปใส่ในโครงสร้างแบบ XML ในหน่วยความจำ สิ่งที่เพิ่มขึ้นในภาษา C# 3.0 คือส่วน QE ในบรรทัดที่ 16 ถึง 20 จะเห็นว่ามีคำสั่ง from, where, orderby และ select หากนำโค้ดนี้คอมไพล์ใน C# 2.0 ท่านย่อมจะได้รับข้อความแจ้งความผิดพลาดเป็นจำนวนมาก

ท่านจะได้เรียนรายละเอียดเกี่ยวกับ QE พร้อมเบื้องหน้าและเบื้องหลังอย่างพิสดารในบทต่อๆ ไป แต่ในหัวข้อนี้ผู้เขียนเพียงอยากจะให้ท่านตั้งข้อสังเกตว่าอันที่จริงแล้ว LINQ ไม่ใช่ภาษาใหม่ และ QE ก็ไม่ใช่ภาษาใหม่ด้วยเช่นกัน คิวรีที่ท่านเห็นในบรรทัดที่ 16 ถึง 20 แท้จริงแล้วเป็นภาษา C# โปรดตระหนักว่าบัดนี้ท่านสามารถคิวรีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอะไรก็ได้จากบรรทัดคำสั่งภาษา C# โดยตรง สภาพการเช่นนี้เป็นสิ่งที่กรรมกรซอฟต์แวร์ทุกผู้ทุกนามล้วนใฝ่ฝันมานานมิใช่หรือ

ภาพ 1-9: โค้ดภาษา C# ใช้งาน LINQ เพื่อทำงานตามโจทย์ว่าจงคิวรีข้อมูลในตาราง Products ในฐานข้อมูล AdventureWork2008 เฉพาะแถวที่รหัสสินค้ามากกว่า 2 และชื่อสินค้านำหน้าด้วย A จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใส่ในโครงสร้างแบบ XML ในหน่วยความจำ

สาเหตุที่ต้อง LINQ
จากตัวอย่างในหัวข้อที่ผ่านมาท่านอาจนึกอัศจรรย์ใจว่าเพราะเหตุใดเพียงแค่การคิวรีตารางแล้วจับผลลัพธ์มาใส่ XML ไมโครซอฟต์ถึงกับต้องดิ้นรนประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่อย่าง LINQ หรือทำไมหนังสือเล่มนี้ถึงมีเนื้อหายืดยาวมากนัก เพราะดูท่าว่า LINQ คงไม่มีสติอะไร หากท่านคิดเช่นนั้นโปรดอ่านหัวข้อนี้ หากท่านไม่ติดใจจะอ่านข้ามหัวข้อนี้ไปก็ยังได้ ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะอธิบายว่าการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลด้วยวิธีเก่ามีปัญหาอย่างไร และ LINQ เป็นทางออกของปัญหาอย่างไร

ปัญหาของ ADO.NET ก่อนหน้ามี LINQ ท่านจะใช้ ADO.NET เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล แท้จริง ADO.NET เป็นเพียงไลบรารีพื้นฐานของดอตเน็ต (.NET Framework Class Library ย่อ FCL) คือเป็นชุด API อันประกอบด้วยคลาสต่างๆ เช่น SqlConnection, SqlCommand, SqlReader, DataSet และ DataTable ฯลฯ ปัญหาของการใช้คลาสเหล่านี้คือท่านจะต้องอ้างถึงตาราง คอลัมน์ และแถวข้อมูลโดยตรง และปรกติในฐานข้อมูลจะมีตารางและคอลัมน์จำนวนมาก การดึงข้อมูลออกจากตารางมาใส่ในหน่วยความจำและการใส่ข้อมูลที่แก้ไขแล้วกลับคืนเข้าไปในตาราง ท่านต้องเขียนรายการคอลัมน์ยืดยาว มีการประเมินว่าทีมนักพัฒนาเสียเวลาไปกับกิจกรรมเหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 30 ถึง 40 ของเวลาทั้งโครงการ

ปัญหาของการใช้ ADO.NET ไม่ได้หยุดอยู่เพียงเรื่องประสิทธิภาพในการพัฒนา แต่ยังลามไปถึงคุณภาพของงานด้วย บ่อยครั้งที่นักเขียนโค้ดเผอเรอกำหนดชนิดข้อมูลผิดต้องไล่หาบักอย่างยากลำบาก บางครั้งอาจไม่พบความผิดปรกตินี้จนกว่าจะใช้งานจริงไปสักพัก

 ภาพ 1-10 แสดงโค้ดที่ใช้ ADO.NET ติดต่อฐานข้อมูล AdventureWork2008 เพื่อคิวรีตาราง Products ไล่เรียงข้อจำกัดต่างๆ ได้ดังนี้

•    บรรทัดที่ 11 ถึง 13 โค้ดกำหนดการเชื่อมต่ออยู่ในสภาพสตริง ตัวแปลภาษาจึงไม่รับรู้หากกำหนดค่าผิด
•    บรรทัดที่ 17 และ 18 เป็นคิวรีที่อยู่ในสภาพสตริง ตัวแปลภาษาจึงไม่รับรู้หากเขียนคิวรีผิด
•    บรรทัดที่ 25 และ 26 ผู้เขียนโค้ดไม่รู้ว่าข้อมูลที่รับมาเป็นไทป์อะไรเพราะส่วนอินเทลลิเซนส์ไม่สามารถแสดงคำแนะนำใดๆ ได้
•    หากเปลี่ยนดาต้าเบสเซอฟเวอร์ (เช่นเปลี่ยนจากเซอฟเวอร์ที่ใช้ในการทดสอบไปเป็นเซอฟเวอร์ที่ใช้งานจริง) โค้ดนี้จะเออเรอร์ทันที นอกเสียจากว่าจะแก้ไขส่วนกำหนดการเชื่อมต่อเสียก่อน

 ภาพ 1-11 แสดงโค้ดที่ใช้ LINQ ติดต่อฐานข้อมูล AdventureWork2008 เพื่อคิวรีตาราง Products ไล่เรียงการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดังนี้

•    บรรทัดที่ 40-14 การกำหนดการเชื่อมต่ออยู่ในสภาพออพเจ็กต์ที่ตัวแปรภาษารับรู้
•    บรรทัดที่ 43-44 คิวรีทำในภาษา C# โดยตรง ตัวแปรภาษาตรวจสอบวากยสัมพันธ์ได้
•    บรรทัด 49-30 เนื่องจาก r เป็นออพเจ็กต์ ส่วน ProductID และ Name มีภาวะเป็นพร็อพเพอร์ตีสมาชิกของ r  อินเทลลิเซนส์จึงสามารถแสดงคำแนะนำได้
•    หากเปลี่ยนดาต้าเบสเซอฟเวอร์ (เช่นเปลี่ยนจากเซอฟเวอร์ที่ใช้ในการทดสอบไปเป็นเซอฟเวอร์ที่ใช้งานจริง) ท่านไม่ต้องแก้ไขอะไรในโค้ดนี้เลย เพียงแต่เปลี่ยน O/RM ใหม่

 

ภาพ 1-10 โค้ดที่ใช้ ADO.NET ติดต่อฐานข้อมูล AdventureWork2008 เพื่อคิวรีตาราง Products

ภาพ 1-11 โค้ดที่ใช้ LINQ ติดต่อฐานข้อมูล AdventureWork2008 เพื่อคิวรีตาราง Products

 

กรุณาติดตามตอนต่อไป

ทำความรู้จัก LINQ [ตอน1]

Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

ตัวอย่างเนื้อหาของหนังสือ เรีนรู้ด้วยตนเอง LINQ

    [ตอน1]

 

ซอฟต์แวร์คือการผสมผสานระหว่างโค้ดและข้อมูล การพัฒนาซอฟต์แวร์คือการเขียนโค้ดเพื่อดำเนินการกับข้อมูล ในการเขียนโค้ดมีภาษาโปรแกรมให้เลือกจำนวนมาก ท่านจะเลือกภาษาอะไรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ อาทิ ลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ ความถนัดของท่านหรือทีมผู้พัฒนา ระบบปฏิบัติการที่จะนำไปใช้ หรือนโยบายที่บริษัทหรือลูกค้ากำหนด แต่ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรลงท้ายก็ต้องเขียนโค้ดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลอยู่ดี โดยข้อมูลอาจอยู่ในแหล่งต่างๆ หลายแบบ อาทิ เป็นไฟล์ในดิสก์ เป็นตารางในฐานข้อมูล เป็นเอกสารแบบ XML ที่มาจากเว็บ หรือบ่อยครั้งที่ในงานๆ เดียวต้องพาดพิงแหล่งข้อมูลทุกแบบที่ว่ามานี้ผสมกัน กล่าวโดยถึงที่สุดแล้วไม่ว่าจะพัฒนาซอฟต์แวร์โครงการไหนมักหนีไม่พ้นจะต้องข้องเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ

เมื่อท่านพัฒนาซอฟต์แวร์ท่านย่อมคาดหวังว่าสภาพแวดล้อมจะเอื้ออำนวยให้ท่านจัดการข้อมูลได้ง่าย คือมีเครื่องมือ หรือมีตัวช่วย หรือมีไลบรารี ที่จะทำให้ท่านเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย ไม่ต้องพัฒนาสิ่งพื้นฐานเอาเองจากศูนย์ทั้งหมด หากท่านพัฒนาซอฟต์แวร์บนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ค (Microsoft .NET Framework ย่อ NETFX) ท่านย่อมสบายใจได้ เพราะ NETFX จัดเตรียมกลไกที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลมาให้อย่างอุดมตั้งแต่เวอร์ชันแรก และยิ่งไปกว่านั้นในเวอร์ชัน 3.5 NETFX ได้จัดเตรียม LINQ ซึ่งช่วยผสานการจัดการข้อมูลเข้ากับภาษา C# ได้ใกล้ชิดขึ้นจนเป็นเนื้อเดียวกัน

ก่อนที่จะมุ่งเข้าสู่เนื้อหาที่เป็นรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ LINQ ในบทนี้ท่านจะได้เห็นภาพมุมกว้างโดยทั่วๆ ไปของ LINQ เสียก่อน เพื่อให้รู้ว่าอะไรอยู่ที่ใด ซึ่งจะช่วยให้ท่านมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ได้ชัดขึ้นเมื่อท่านเรียนถึงเนื้อหาส่วนรายละเอียด

แนะนำ LINQ เบื้องต้น
เมื่อท่านพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษา C# ต้องมีจุดใดจุดหนึ่งในโปรแกรมที่ท่านจำเป็นต้องนำข้อมูลในออพเจ็กต์บันทึกลงไว้ในฐานข้อมูล กระทำคิวรีต่อฐานข้อมูล และนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใส่ไว้ในออพเจ็กต์อีกรอบหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นท่านทำเว็บไซต์ขายสินค้า ท่านรับข้อมูลการสั่งซื้อมาเก็บไว้ในออพเจ็กต์ (หรือออพเจ็กต์คอลเลคชัน เช่นลิสต์ หรือดาต้ากริตวิว) จากนั้นนำข้อมูลนี้บันทึกลงสู่ตารางในฐานข้อมูลไมโครซอฟต์ SQL เซอฟเวอร์ 2008 (Microsoft SQL Server version 2008 ย่อ SQL2008) ในสมัยที่ยังไม่มี LINQ ท่านอาจทำทุกอย่างผ่านทางการเชื่อมต่อตามลัทธิ ADO.NET จากนั้นกระทำคิวรีกับฐานข้อมูลเพื่อดึงข้อมูลจากตารางต่างๆ มาผสมกันให้ได้เป็นธุรกรรมที่สมบูรณ์ แล้วนำข้อมูลสุดท้ายมาใส่ในออพเจ็กต์ (หรือออพเจ็กต์คอลเลคชัน เช่นดาต้าเทเบิล หรือดาต้ากริตวิว)เพื่อนำไปฉายแสดงให้ผู้ใช้ได้ดูชมบนหน้าเว็บ

โชคดีที่ภาษา C# สนับสนุน OOP อย่างถึงที่สุด ทำให้ท่านพัฒนางานด้วยหลักการ OOP ได้ง่ายและได้อย่างเต็มที่ แต่โชคร้ายที่ตัวจัดการฐานข้อมูลสัมพันธ์ (Relational Database Management System ย่อ RDBMS) อย่าง SQL2008 ไม่เป็นเช่นนั้น นักพัฒนาพยายามทำฐานข้อมูลให้เป็นออพเจ็กต์โดยห่อหุ้มฐานข้อมูลไว้ในคลาส (Object/Relational Mapping ย่อ O/RM) โดยใช้เครื่องมือเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่นบทที่ 11 ในหนังสือ “เรียนรู้ด้วยตนเอง OOP C# ASP.NET” (ISBN 13:978-974-212-598-1 ย่อ LOYOOP) ผู้เขียนสาธิตวิธีทำเช่นนี้

สภาพการก่อนมี LINQ
การทำ O/RM ใน NETFX เวอร์ชันก่อน 3 แม้จะทำได้และใช้งานได้จริงแต่ก็ไม่สะดวก และมีจุดอ่อนที่ไม่สามารถนำโค้ดกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะ Code Reusable คือหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมวัตถุวิธี หากจะแก้ให้ตรงประเด็นก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ฐานข้อมูลแบบ OOP (Object-oriented Database Management System ย่อ ODBMS) โชคร้ายที่ในทางปฏิบัติทำไม่ได้ เพราะ ODBMS ไม่ได้รับความนิยม หน่วยงานต่างๆ ล้วนแล้วแต่ใช้ฐานข้อมูลแบบ RDBMS เช่น SQL2008, ออราเคิล PostgreSQL, DB2, MySQL ฯลฯ ด้วยกันทั้งสิ้น

บริษัทไมโครซอฟต์รู้ว่าแนวทางของคอดด์นั้นดีเยี่ยมและผู้คนจะไม่เปลี่ยนใจไปจาก RDBMS ได้ง่ายนัก จึงจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อค้นคว้าหาวิธีขจัดความยุ่งยากทางเทคนิคของการทำงานร่วมกันระหว่างฐานข้อมูลกับแอพลิเกชันที่พัฒนาด้วยภาษา C# ผลลัพธ์ที่ได้คือ LINQ ซึ่งช่วยให้การทำ OR/M ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากท่านพัฒนาโดยอาศัย Visual Studio 2008 (VS2008) ท่านจะสามารถทำ OR/M ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแม้แต่บรรทัดเดียว เพียงลากและหยอด VS2008 จะผลิตโค้ดที่จำเป็นให้ได้อย่างครบถ้วน

ความคิดดั้งเดิมของ LINQ คือต้องการให้การพัฒนาโปรแกรมภาษา C# ทำงานกับฐานข้อมูล SQL2008 ได้ง่ายขึ้นและเป็น OOP มากขึ้น เรียกว่า LINQ to ADO.NET แต่ต่อมาความคิดเกี่ยวกับ LINQ เริ่มคลี่คลายและขยายเป้าหมายออกไปกว้างกว่าตอนต้นมาก สุดท้าย LINQ กลายเป็นภาษาอเนกประสงค์ทำงานร่วมกับแหล่งข้อมูลได้สารพัด ยกตัวอย่างเช่น LINQ ที่ทำงานกับ SQL2008 เรียกว่า LINQ to SQL ส่วน LINQ ที่ทำงานกับแฟ้มแบบ XML เรียกว่า LINQ to XML และ LINQ ที่ทำงานกับออพเจ็กต์ เรียกว่า LINQ to Objects

โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลวัตถุวิธีหรือ ODBMS ไม่ได้รับความนิยม หน่วยงานต่างๆ ล้วนแล้วแต่ใช้ฐานข้อมูลแบบ RDBMS ภาพนี้คือโปรแกรม IBM DB2 Cube View 8.2

 

มหาเอกะทฤษฏี

ขณะที่สตีเฟน ฮอว์กินส์ กำลังหาทางรวมทฤษฏีทั้งหมดเข้าด้วยกันให้เป็นทฤษฏีเดียวที่อธิบายได้ทุกอย่างในเอกภพหรือ มหาเอกะทฤษฏี (Grand Unified Theory ย่อ GUT) แต่ยังหาทางทำไม่สำเร็จ ทีมงาน LINQ กลับประสบความสำเร็จในการทำให้ LINQ สามารถทำงานร่วมกับแหล่งข้อมูลอะไรก็ได้ (Unified Data Source ย่อ UDS) ดังนั้นท่านจึงสามารถเขียนโค้ด (ที่มีซินแท็กซ์คล้ายๆ ภาษา SQL) เพื่อคิวรีข้อมูลภายใน SQL2008 ในลิสต์หรือแม้กระทั่งในแฟ้มข้อมูลตัวหนังสือได้โดยใช้วิธีการเดียวกัน

เนื่องจากคิวรีที่ว่านี้เป็นภาษาที่กลืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับภาษา C# จึงเป็นที่มาของชื่อ LINQ (อ่านว่าลิ้งค์เหมือน Link) ย่อมาจากคำว่า Language INtegrated Query หมายถึงคิวรีที่ถูกบูรณาเข้ากับภาษาเขียนโปรแกรม (ขณะนี้สนับสนุนเฉพาะภาษา C# 3.0 แล VB.NET 9.0 ขึ้นไปเท่านั้น) คำว่าบูรณาการในที่นี้หมายถึงผสานเข้าด้วยกันอย่างไม่มีรอยต่อ เหมือนเป็นภาษาซ้อนในภาษา ยกตัวอย่างเช่นสมมุติว่าท่านต้องการคิวรีข้อมูลในตาราง Production.Product ของฐานข้อมูล AdventureWorks2008 หากทำในโปรแกรม Microsoft SQL Server Management Studio (SSMS) จะมีคิวรีและได้ผลลัพธ์อย่างที่เห็นในภาพ 1-2 หากเขียนเป็นโปรแกรมภาษา C# และเชื่อมต่อฐานข้อมูลด้วย ADO.NET โค้ดจะเป็นอย่างที่เห็นในภาพ 1-3 และผลลัพธ์เป็นอย่างภาพ 1-4

ภาพ 1-2: การคิวรีตาราง Production.Product ในฐานข้อมูล AdventureWorks2008 ด้วยภาษา T-SQL

ภาพ 1-3: โค้ดภาษา C# แสดงตัวอย่างแสดงวิธีคิวรีข้อมูลในตาราง Categories ของฐานข้อมูล AdventureWorks2008 โดยใช้สถาปัตยกรรม ADO.NET

ภาพ 1-4: ผลลัพธ์จากการทำงานของโปรแกรมในภาพ ado sample code

 

โปรดสังเกตว่าโค้ดในภาพ 1-3 ส่วนที่เป็นคิวรีคือบรรทัดที่ 17 และ 18 ซึ่งอยู่ในสภาพสตริง ภาวะเช่นนี้ไม่ถือว่าคิวรีถูกบูรณาการเข้ากับภาษา C# เพราะตัวแปลภาษา C# และ CLR (Common Language Runtime) ไม่รับรู้ว่าสตริงนี้เป็นคิวรี ในทางตรงกันข้าม ตัวแปรภาษา C# จะไม่แปลคิวรีนี้และจะไม่ตรวจสอบว่าคิวรีมีไวยากรณ์ถูกต้องหรือไม่ และ CLR ก็จะไม่ให้หลักประกันในการทำงานและไม่อาจแสดงข้อความรันทามน์เออเรอร์ (Runtime Error Message ย่อ REM) ที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงได้

ต่อไปลองมาดูตัวอย่างโค้ดภาษา C# ซึ่งทำหน้าที่เดียวกันและให้ผลลัพธ์เดียวกันทุกอย่าง แต่ใช้สถาปัตยกรรม LINQ บาง โค้ดเป็นอย่างที่เห็นในภาพ 1-5 คำว่า DataClasses1DataContext ในบรรทัดที่ 40 คือ O/RM ที่ผู้เขียนสร้างโดยการลากและหยอดไว้ก่อนแล้ว ส่วนที่เป็นคิวรีคือบรรทัดที่ 43 และ 44 โค้ดสองบรรทัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาษา C# ดังนั้นตัวแปลภาษา C# จึงสามารถตรวจสอบได้ว่าเขียนผิดไวยากรณ์หรือไม่ และ CLR จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องของไทป์ได้จึงแสดง RE ที่ถูกต้องตอนรันได้ ภาวะเช่นนี้ทำให้ LINQ เป็นคิวรีที่ถูกบูรณาเข้ากับภาษาเขียนโปรแกรมได้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

 

ภาพ 1-5: โค้ดภาษา C# ซึ่งทำหน้าที่เดียวกันและให้ผลลัพธ์เดียวกันทุกอย่าง แต่ใช้สถาปัตยกรรม LINQ

กรุณาติดตามตอนต่อไป

เคล็ดลับการทำรายงานจากฐานข้อมูล

Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

 

Reporting Services

เคล็ดลับการทำรายงานจากฐานข้อมูล

ลาภลอย วานิชอังกูร (laploy.com)

โพสบล็อกตอนนี้จะขอเล่าประสบการณ์เมื่อผู้เขียนให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Business Intelligence ในหน่วยงานแห่งหนึ่ง แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมานานแล้ว แต่บทเรียนย้งใช้ได้ดีอยู่จนถึงตอนนี้

Business Intelligence

การใช้ BI มีมาหลายสิบปีแล้ว แต่ก่อนหน้าที่จะมีโปรแกรม MS-SQL การมีหรือการใช้ BI เป็นสิ่งที่ยุ่งยากและมีราคาแพง คงมีแต่หน่วยงานขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะสามารถจัดหา BI มาใช้ได้ แต่การมาถึงของ SQL2008 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันนี้หน่วยงานเล็กๆ ก็สามารถมี BI ใช้ได้

ใน SQL2008 มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ BI โดยตรงสามส่วนคือ Integration services (SSIS) ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งเพื่อนำมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ , Analysis services (SSAS) ใช้สร้าโมเดลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเช่น Cube และ Subspace และ Reporting services (SSRS) ใช้สร้างรายงานแบบ OLAP ซึ่งเป็นส่วนที่ท่านจะได้เรียนโดยละเอียดในบทนี้และบทต่อไป

หากท่านติดตั้งโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2008 (MSVS2008) ไว้และติดตั้งโปรแกรม SQL2008 พร้อมส่วนเสริม BI ท่านจะสามารถใช้ MSVS2008 พัฒนางาน BI ได้ทั้งครบถ้วนทั่งสามแบบคือ SSIS, SSAS และ SSRS

 

สถาปัตยกรรม

"เอเลฟอง" (ชื่อสมมุติ) คือหน่วยงานหนึ่งที่ผู้เขียนทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เอเลฟองเป็นบริษัทสัญชาติฝรั่งเศสที่มีสาขาหลายร้อยแห่งอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ในส่วนไอทีหน่วยงานนี้ใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟต์เป็นหลัก ส่วนฐานข้อมูลแบ่งออกเป็นสองส่วน ฐานข้อมูลที่ประมวลผลธุรกรรมการเงินใช้ออราเคิล และฐานข้อมูลที่ประมวลผลธุรกรรมในฝ่ายการผลิตใช้ไมโครซอฟต์ SQL เวอร์ชัน 2000

สาเหตุที่เอเลฟองใช้ดาต้าเบสเซอฟเวอร์เวอร์ชันเก่าขนาดนี้เพราะแอพลิเกชันที่ใช้อยู่ (ชื่อ Fx.Net) เป็นแอพลิเกชันที่พัฒนาขึ้นนานแล้ว โดยมีสำนักงานใหญ่ของเอเลฟองภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก ว่าจ้างให้บริษัทใน "แบงกาลอร์" ทำหน้าที่ผลิตและดูแล Fx.Net เป็นแอพลิเกชันที่ถูกเขียนด้วยภาษา C# บนด็อตเน็ตเวอร์ชัน 1.1 และไมโครซอฟต์ SQL เวอร์ชัน 2000

เอเลฟองผลิตสินค้าแต่ละเดือนหลายแสนชิ้น ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดจากขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตสินค้าถูกเก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ นี่คือโกดังสะสมข้อมูลหรือ "ดาต้าแวร์เฮาส์" (Data warehouse) ที่นอกจากจะจำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิตแล้ว ผู้บริหารระดับต่างๆ ยังหวังว่าจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาเรียบเรียงให้อยู่ในรูปแบบที่ทำให้เกิด "ความเฉียบแหลมทางธุรกิจ" (Business Intelligence หรือนิยมเรียกย่อว่า BI)

 

นิทานแห่งสองนาคร

แน่นอนว่าการนำข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ในตารางต่างๆ นับร้อย มาเรียงร้อยให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้บริหารสามารถอ่านเข้าใจได้จำเป็นต้องอาศัยการทำ "รายงาน" ในรูปแบบต่างๆ ปัญหาหลักคือ Fx.Net ทำรายงานได้ไม่ดีนักเนื่องจากสาเหตุสองประการ

ประการแรกคือการเกิดเออเรอร์แบบหมดเวลา (Query time-out error) ปัญหานี้เกิดจากโปรแกรม Fx.Net เรียกใช้เฟรมเวิร์คของเอเลฟองและสตอร์โปรซีเจอร์ (Stored procedure) ที่ถูกกำหนดไว้แล้วโดยศูนย์กำหนดทิศทางด้านไอที (ทีเซ็นเตอร์ T-Center) ของเอเลฟองที่สำนักงานใหญ่ในฝรั่งเศส บ่อยครั้งเมื่อรายงานต้องทำคิวรีข้อมูลปริมาณมากๆ จะเกิด time-out แต่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่แบงกาลอร์ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลัก เพื่อแก้ปัญหานี้ได้ตามอำเภอใจ

ประการที่สองรูปแบบของรายงานไม่สวย คือเป็นเพียงเท็กซ์ ไม่สามารถใส่ตารางหรือแผนภูมิได้ ปัญหานี้เกิดจากโปรแกรม Fx.Net (รวมถึงเฟรมเวิร์คของเอเลฟอง) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ทำงานในระดับการผลิต (shop floor) จึงขาดคุณสมบัติที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำรายงานระดับบริหาร

 

ทางเลือกที่สาม

ทางเลือกในการแก้ปัญหานี้มีสามทาง แต่ละวิธีต่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเองทั้งสิ้นดังนี้

  • สร้างแอพลิเกชันรายงาน : วิธีนี้คือเขียนแอพลิเกชันขึ้นแยกต่างหาก (โดยไม่ขึ้นกับเฟรมเวิร์คของเอเลฟอง) โดยใช้ภาษา C# 3.0 ซึ่งมีคุณสมบัติเอื้ออำนวยการการทำคิวรีได้ในตัว ข้อดีของวิธีนี้คือจะสามารถทำรายงานที่มีรูปแบบพิสดารอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ ข้อเสียของทางเลือกนี้คือใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง
  • ใช้โปรแกรม Crystal Report : คริสทัลรีพอร์ท (CR) เป็นโปรแกรมช่วยสร้างรายงาน ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพสูง สร้างรายงานที่ซับซ้อนมากๆ ได้โดยใช้เวลาสั้น ข้อเสียคือจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อมาใช้ และเป็นการเพิ่มเทคโนโลยีจากผู้ผลิตรายที่สามเข้าสู่ระบบ
  • ใช้ Reporting Services : รีพอร์ทติง เซอร์วิสเซส (RS) แม้จะมีลูกเล่นน้อยกว่า CR แต่ก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน จึงมีข้อดีคล้ายกัน แต่ไม่มีข้อเสียเรื่องค่าใช้จ่าย (ฟรี คือแถมมาพร้อมกับตัว SQL เซอฟเวอร์) และความกังวลเรื่องเทคโนโลยีจากผู้ผลิตรายที่สาม แต่มีข้อเสียอื่นคือไม่สามารถทำรายงานที่ซับซ้อนมากๆ ได้ และขาดคุณสมบัติเพื่ออำนวยความสะดวกบางอย่าง (เช่น การป้อนพารามิเตอร์วันเวลาโดยแสดงส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นปฏิทิน)

 

รายงานแบบ OLAP

ทางเลือกต่างๆ ที่ว่ามาสามอย่างข้างต้นถูกนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ และพบว่ามันไม่สามารถแก้ปัญหาหลักอย่าง time out ได้ ทางออกคือการจัดตั้งเครื่องแม่ข่ายอีกเครื่องหนึ่งเพื่อใช้ทำเป็นฐานข้อมูล OLAP การทำเช่นนี้จะปลดเปลื้องภาระของแม่ข่ายธุรกรรมหรือ OLTP จากความหน่วงของคิวรีรายงานได้ทั้งหมด

รายงานแบบ OLAP คือการวิเคราะห์ข้อมูลแบบออนไลน์ (Online Analytical Processing) OLAP ไม่ใช่แค่รายงานตายตัวแบบในกระดาษ แต่เป็นรายงานที่มีพลวัตและมีหลายมิติ ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ทันสมัยเพราะเปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริง (real time) ในลักษณะต่างๆ เช่นตารางแสดงข้อมูลไขว้ (Pivot Table) หรือตารางแบบเมตริกซ์ (Matrix) ตารางรายงานที่ข้อมูลแปรผันได้ตามการป้อนเงื่อนไข (Report Parameter) รายงานที่เจาะลึกได้ (Drill Down) หรือรายงานที่โยงไปยังรายงานย่อยที่มีรายละเอียดอ้างอิงได้ (Drill through) เป็นรายงานบนหน้าจอที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือจะพิมพ์ลงกระดาษก็ได้

รายงานแบบ OLAP มักเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลกับคลังข้อมูลหรือข้อมูลสะสม (data mining) เพื่อการทำนายแนวโน้ม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยการบริหารและพัฒนากระบวนการต่างๆ ของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่าสับสนระหว่าง OLAP กับ OLTP เพราะอย่างหลังคือการทำธุรกรรมออนไลน์ (Online Transaction Processing) ที่เป็นคนละเรื่องกัน ฐานข้อมูลของงาน OLTP จะมีขนาดเล็กกว่าและมีพลวัตสูง ส่วนฐานข้อมูลของ OLAP จะมีขนาดใหญ่กว่ามากแต่มีพลวัตต่ำหรือถึงกับไม่มีเลย

การใช้เซิฟเวอร์อีกตัวทำเป็น OLAP มีข้อเสียอยู่ที่รายงานจะไม่ใช่ข้อมูลอัพเดตตามเวลาจริง แต่จะมีช่วงล้าสมัยเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าเราตั้งให้แม่ข่ายฐานข้อมูล OLTP คัดลอกข้อมูลในฐานข้อมูลมายังแม่ข่าย OLAP ถี่เพียงใด การกำหนดความถี่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะถ้าทำถี่เกินไป (คือทุกชั่วโมง) อาจมีผลให้โหลดแม่ข่ายฐานข้อมูล OLTP มากเกินไป แต่ถ้าถี่น้อยไป (ทุกสัปดาห์) รายงานอาจล้าสมัยแล้ว

 

ข้อดีของการทำรายงานด้วย SSRS

ต่อไปนี้เป็นรายการแสดงข้อดีต่างๆ ของการทำรายงานด้วย SSRS

  • ใช้เพลตฟอร์มมาตรฐาน: ไฟล์รายงานเป็นภาษา RDL จึงเป็นเพียงแท็กซ์ไฟล์ (text file) ธรรมดา เปิดด้วยแท็กซ์เอดิเตอร์อะไรก็ได้ หากใช้โปรแกรม MSVS2008 สร้างจะสะดวกมาก เพราะมีเครื่องอำนวยความสะดวกให้หลายอย่าง ไม่ต้องเขียนภาษา RDL ขึ้นเอง
  • ค่าใช้จ่าย: SSRS แถมฟรีมากับ SQL2008 ดังนั้นหากท่านมีใบอนุญาตการใช้งาน SQL2008 ท่านจะสามารถใช้ SSRS ทำรายงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมอีก
  • ดูได้ทั่วโลก: เมื่อสร้างรายงานเสร็จและทำดีพลอยแล้วรายงานจะอยู่ในเว็บเซอฟเวอร์ ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์เปิดดูได้พร้อมกันทุกคนจากทั่วโลก
  • รายงานฝังตัว: ท่านอาจให้ผู้รับเปิดรายงานโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ หรือจะดึงรายงานไปฝังไว้เป็นส่วนหนึ่งของแอพลิเกชันที่ท่านสร้างไว้แล้วให้ผู้ใช้รายงานเปิดจากภายในแอพลิเกชันก็ได้
  • การรับรายงาน: รายงานที่ผู้ใช้เปิดเป็นรายงานสด ข้อมูลในรายงานเป็นข้อมูลที่อัพเดตตามเวลาจริงขณะนั้นๆ หรือท่านสามารถกำหนดให้ SSRS อัพเดตข้อมูลเฉพาะบางช่วงเวลาก็ได้ (เช่นอัพเดตวันละหนตอนตีสามเพราะเป็นเวลาที่ปริมาณการจราจรของข้อมูลคับคั่งน้อยที่สุด)

 

Crystal Report (CR) เป็นโปรแกรมประยุกต์แบบ BI จากบริษัท Business Object ซึ่งมีฐานะเป็นบริษัทลูกของ SAP โปรแกรม CR มีมานานแล้วแต่ไม่เด่นดัง จนกระทั่งไมโครซอฟต์นำมาผนวกไว้กับเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมวิสชวลเบสิก ทำให้ CR เป็นที่รู้จักและกลายเป็นมาตรฐาน โดดเด่นกว่าโปรแกรมสร้างรายงานอื่นๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

ในยุค MS-SQL 7 และ MS-SQL 2000 ผู้ที่ต้องการสร้างรายงานซับซ้อนสวยงามจำเป็นต้องนำ CR มาใช้ร่วมกับ MS-SQL เพราะ SSRS ในสมัยนั้นมีความสามารถที่จำกัด แต่พอถึงยุค SQL2005 และ SQL2008 สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป เพราะ SSRS ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แม้ SSRS จะมีความสามารถด้อยกว่า CR ในบางด้าน แต่ผู้ใช้ CR ร่วมกับ SQL2008 ก็เริ่มมีจำนวนลดลง เพราะในหลายๆ กรณี SSRS มีความสามารถเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการได้ และที่สำคัญคือผู้ใช้ไม่ต้องจัดซื้อ SSRS เพิ่มเติมเพราะมันถูกผนวกอยู่ใน SQL2008 ผู้ใช้จึงสามารถติดตั้งใช้งาน SSRS ได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

ดัชนีหนังสือ DabaBase [6]


Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

ดัชนีหนังสือ DabaBase [6]

วันนี้ทำดัชนีหนังสือ DabaBase เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอนำมาโพสไว้ที่นี่ให้ดูเล่นหน่อยนะครับ

ฐานข้อมูล 48, 53 , 111, 141, 208, 333
ฐานข้อมูลเพื่อช่วยการตัดสินใจ 79
ฐานข้อมูลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ 78
ฐานข้อมูลแบบคลังข้อมูล 79
ฐานข้อมูลแบบผสมผสาน 80
ฐานข้อมูลในงานธุรกรรม 78
ฐานข้อมูลรายงาน 79
ฐานข้อมูลสัมพันธ์ 118
ดร. สตีฟ คุณน์ 354
ดร. อี เอฟ คอดด์ 65
ดรรชนี 108, 210
ดอทเน็ตเฟรมเวิร์ก 784
ดัชนี 91, 208, 214, 218, 221, 224, 235, 313, 334
ดัชนีเผื่อเลือก 210
ดัชนีแบบคลัสเตอร์ 220, 312
ดัชนีที่ไม่เป็นคลัสเตอร์ 226, 312
ดัชนีร่วม 211
ดัชนีหลัก 209
ดาต้าเซต 61, 666
ดาต้าเบส 48
ดาต้าเบสเซอฟเวอร์ 185
ดาต้าเบสเอ็นจิน 169, 182
ดาต้าเพจ 211
ดาต้าโมเดล 247
ดาต้าคอลเล็กชั่น 506, 533, 542
ดาต้ารีเจียน 667
ดีพลอยเมนต์ 700
ต้นไม้ไบนารี 108
ตรรกะ 371, 417
ตรรกะบูลีน 220
ตัวเรียงข้อมูล 429
ตัวเลือกตอนเริ่ม 195
ตัวเสริมโปรเจ็กชั่น 430
ตัวแปร 277, 278, 296, 362, 364, 487
ตัวแปร Global 294
ตัวแปรแบบตาราง 280, 649
ตัวแปรแบบอะนอนนิมัส 861
ตัวแปรชี้แถว 360
ตัวแปรชี้ทูเพิล 360
ตัวแปรย่าน 354
ตัวแปรสตริง 610
ตัวแปลภาษา C# 859
ตัวกระทำ 325
ตัวกระทำฉายแสดง 388
ตัวกำหนด 122, 146
ตัวคงค่า 454
ตัวจัดกลุ่ม 429
ตัวจำกัด 394
ตัวดำเนินการ 380, 383, 387
ตัวดำเนินการเรียงข้อมูล 433
ตัวดำเนินการจัดกลุ่ม 431
ตัวดำเนินการตัดข้อมูลซ้ำ 430
ตัวดำเนินการทางเซต 407
ตัวดำเนินการบูลีน 396
ตัวดำเนินการพีชคณิต 390, 402
ตัวดำเนินการพีชคณิตเชิงสัมพันธ์ 429
ตัวตั้ง 401
ตัวตัดข้อมูลซ้ำ 429
ตัวถูกดำเนินการ 380
ตัวนับอัตโนมัติ 62
ตัวประมวลผลแบบขนาน 62
ตัวประมวลผลรายงาน 736
ตัวหาผลรวม 429
ตัวอย่าง 402
ตารางเสมือน 245, 557
ตารางแบบรีเลชั่น 391
ตารางแม่ 106, 336
ตารางแฮช 210
ตารางไม่ผูกพัน 107
ตารางช่วย 245
ตารางชั่วคราว 245, 469, 557
ตารางธุรกรรม 133
ตารางผกผัน 180
ตารางผูกพัน 107
ตารางลูก 106, 336
ตีนกา 102
ทมยันตี 223
ทรัพยากร 90
ทริกเกอร์ 577
ทูเพิล 48, 354, 359, 391, 398, 400, 413, 423, 427, 434
ทูเพิลกำพร้า 435
ทูลทิป 523
ธุรกรรมแบบออนไลน์ 56
นอร์มัลไลเซชั่น 65, 88 , 91 , 118
นอร์มัลไลซ์ 253
นอร์มัลฟอร์ม 118
นอร์มัลฟอร์มแบบฉาย 152
นอร์มัลฟอร์มแบบบอยซ์-คอดด์ 125
นอร์มัลฟอร์มกุญแจโดเมน 126
นอร์มัลฟอร์มระดับที่สอง 125
นอร์มัลฟอร์มระดับที่สาม 125
นอร์มัลฟอร์มระดับที่สี่ 125
นอร์มัลฟอร์มระดับที่หนึ่ง 125
นอร์มัลฟอร์มระดับที่ห้า 126
นักเขียน 110
นิพจน์ 355, 438, 735
นิพจน์เงื่อนไข 411
นิพจน์เชิงเส้น 421
นิพจน์แคลคูลัส 360
นิพจน์ซ้อนนิพจน์ 384
นิพจน์ตารางร่วม 341
นิพจน์บูลีน 394
นิพจน์พีชคณิต 371
นิยามกุญแจ 108
นิยามกุญแจเอกลักษณ์ 109
นิยามกุญแจนอก 109
นิยามนอร์มัลฟอร์ม 125
นิยายนักสืบ 135
นิ้วมือชี้ 450, 470
บลูเรย์ 82
บิตแมป 210
บูรณภาพของข้อมูล 88, 90
บูรณภาพสัมพันธ์ 114
บูรณภาพอ้างอิง 437
บูลีน 851
ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้แบบรูปภาพ 60
ประสิทธิภาพของดัชนี 232
ปุ่มลัด 183, 194
ผลคูณคาร์ทีเซียน 393, 399, 412, 419, 421, 427
ผู้ให้บริการฐานข้อมูล 56
ผู้ออกแบบฐานข้อมูล 92
พจนานุกรม 214
พอยน์เตอร์ 216, 221, 235, 531
พันธ์ทิพย์ 81
พารามิเตอร์ 594, 611, 622, 626, 643, 725, 771, 863
พีชคณิต 245, 386
พีชคณิตเชิงสัมพันธ์ 380
พีชคณิตเชิงสัมพันธ์เพื่อแสดงข้อจำกัด 436
พีชคณิตเชิงสัมพันธ์ภาคเซต 405
พีชคณิตเชิงสัมพันธ์ภาคแบ็ก 422
พีชคณิตกร 509
ฟลอปปีดิสก์ 82
ฟังก์ชัน 305, 651, 771
ฟาเรนโฮต์ 254
ฟิลด์ 48
ภาษา C# 357, 361, 493, 508, 608, 620, 640, 773, 792, 850
ภาษา QBE 355
ภาษาเบสิก 275
ภาษาซี 274
ภาษาอัลฟา 354
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 145
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กลีย์ 354
มัลติเทียร์ 167
มูฮัมมัด บิน มูซา อัล-ควาริซมิ 386
ย่อหน้า 198, 297
ยูเนียน 388, 391, 408, 412, 413, 415, 423, 425, 500
รหัสประจำแถว 222
ร้อยละ 344, 749
รายงาน 735
รีเคอร์ชั่น 492
รีเคอร์ซีฟ 342, 497, 644
รีเคอร์ซีฟแบบไฮราร์คีย์ 499
รีเลชั่น 383, 384, 398, 405, 408, 413, 415, 418, 426, 427
ลงทะเบียน CLRR 802
ลงทะเบียนตัวแปรระบบ 794
ลบตาราง 318
ลำดับการทำงาน 372
ลิสต์ 434
ลูกศร 520
ลูกศรสี่ด้าน 669
ลูป 337
วรรณยุกต์ 215
วันเวลา 344
วากยสัมพันธ์ 357, 387, 495, 574, 578
วิซาร์ด 533
วิดีโอ 84
วิทยาการสารสนเทศ 54
วิธีเขียนคิวรีแบบออฟไลน์ 197
วิธีสร้างกลุ่มใหม่ 714
วินโดว์ฟังก์ชั่น 562
วิว 61, 371, 532, 572
วิววัตถุ 61
สเกลาร์ 277, 464, 641, 653
สกุลเงิน 141
สตริง 337, 771
สตาร์วอร์ส 409
สถาปัตยกรรมแบบเน้นเซอร์วิส 167
สถาปัตยกรรมไคลเอนต์/เซอฟเวอร์ 163
สถาปัตยกรรมไคลเอนต์/เซอฟเวอร์สามชั้น 166
สพร็อกซ์ 543, 581, 600, 620, 631, 792
หน่วยในเซต 245
หน้าต่างเครื่องมือ 199
หนึ่งต่อศูนย์ 209
หนึ่งต่อหนึ่ง 209
หนึ่งต่อหลาย 209
หลักการหาวิธีดีที่สุด 512
ห้องสมุด 223
องค์กร 50
อนุประโยค 362
ออพเจ็กต์ 71, 91 , 610, 859
ออพเจ็กต์เอ็กซ์พลอเรอร์ 183, 184
ออพเจ็กต์วิว 575
ออฟไลน์ 197
ออราเคิล 96, 337
อะตอม 251, 256
อะนอมาลิ 119, 157
อะนอมาลิของการแทรกข้อมูล 120
อะนอมาลิของการลบข้อมูล 121
อะนอมาลิของการอัปเดตข้อมูล 121
อะมีบา 261
อัลกอรึทึม 215
อาร์เรย์ 64, 127, 253
อิทาเนียม 54
อินเตอร์เซ็กชั่น 408, 419
อินเตอร์เซ็กต์ 388, 392, 417, 425, 426
อินเทล 54
อินเทอร์เน็ตแอปพลิเคชั่น 78
อินพุตพารามิเตอร์ 623
อินสแตนซ์ 169, 773
อีเมล 176, 580
อีควิจอยน์ 490
อุปกรณ์บันทึกข้อมูล 84
ฮาร์ดแวร์ 54, 698
ฮาร์ดดิสก์ 50, 80 , 83 , 119, 131, 208
ฮีป 221, 226
ฮีสโตแกรม 511

ดัชนีหนังสือ DabaBase [6]


Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

ดัชนีหนังสือ DabaBase [6]

วันนี้ทำดัชนีหนังสือ DabaBase เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอนำมาโพสไว้ที่นี่ให้ดูเล่นหน่อยนะครับ

เครื่องมือช่วยวิเคราะห์คิวรี 506
เครื่องหมาย — 200
เครื่องหมายดอกจัน 362
เคอร์เซอร์ 342, 451, 484, 491
เซต 244, 257, 335, 340, 341, 356, 391, 405, 422, 423, 427, 428, 449
เซตย่อยทางแนวตั้ง 396
เซตว่าง 437
เซลเซียส 254
เซอฟเวอร์ 164
เซอฟเวอร์ฟาร์ม 684
เซอร์วิส 166, 177, 178
เซิร์ฟเวอร์ 178
เต้าหู้ 475
เทราไบต์ 684
เทอร์นารี 56
เธต้าจอยน์ 398, 399, 414, 419, 428, 490
เนมสเปส 610, 787
เพจ 213, 312
เพจข้อมูล 213
เพจดัชนี 213
เพลย์สเตชั่น 81
เมเนจโค้ด 172, 785
เมตาดาต้า 56, 805
เมธอด 610, 851, 863
เมนเฟรม 95
เรย์มอนด์ เอฟ บอยซ์ 145
เรียงข้อมูล 331, 627
เว็บเบราเซอร์ 693
เว็บแอปพลิเคชั่น 56, 173
เอ็กเซล 180, 181
เอกซ์เทนท์ 211, 312
เอ็นทิตี้ 55, 249
เอ็นทิตี้อิสระ 107
เออร์เรอร์ 464
เอาต์พุตพารามิเตอร์ 624
แคช 514, 515, 707
แคลคูลัสเชิงสัมพันธ์ 354
แคลคูลัสภาคแสดง 354
แคลคูลัสภาคโดเมน 355
แคลคูลัสภาคตาราง 355
แคลคูลัสภาคทูเพิล 354
แจ้งเตือน 177
แถบไตเติ้ล 201
แถว 48
แถวข้อมูลกำพร้า 466
แทรกแถว 214
แบ็ก 356, 422, 423, 425
แบตช์ 302, 326, 521
แบบจำลองข้อมูลแบบวัตถุ 71
แบบจำลองข้อมูลสำหรับธุรกรรม 60
แบบจำลองฐานข้อมูลแบบเครือข่าย 68
แบบจำลองฐานข้อมูลแบบวัตถุวิธี 72
แบบจำลองฐานข้อมูลแบบวัตถุสัมพันธ์ 72
แบบจำลองฐานข้อมูลสัมพันธ์ 69, 70 , 146
แผนการคัดลอก 174
แผนการทำงาน 506
แผนการทำงานจริง 514
แผนปลีกย่อย 511
แผนภูมิต้นไม้ RAE 416
แผนภูมิต้นไม้ของตัวประมวลผลคิวรี 509
แผนภูมิวิเคราะห์การปฏิบัติงานของคิวรี 237
แผนภูมิอีอาร์ 55, 102, 135, 141, 146
แมทริกซ์ 555
แอกริเกต 291, 342, 343, 560
แอตทริบิวต์ 48, 360, 383, 385, 389, 393, 394, 397, 400, 403, 410, 415, 418, 420, 428
แอปพลิเคชั่น 60, 89 , 95 , 165, 592
แอสเซมบลี 784
โกดังข้อมูล 79
โครงสร้าง 88
โครงสร้างแบบต้นไม้ 208
โครงสร้างแบบต้นไม้ไบนารี 108
โครสร้างต้นไม้ 227
โจทย์ 256
โซลิดสเตทดิสก์ 82
โซลูชั่น 663
โปรเจ็กชั่นลิสต์ 433
โปรเจ็กต์ 610
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล 54
โปรแกรมประยุกต์ 118
โปรแกรมวิเคราะห์คิวรี 368
โปร่งใส 60
โพรซีเยอร์ 250
โมเลกุล 251, 254, 256
โรเซนเบอร์เกอร์ 73
โหนด 211
โหนดที่ไม่ใช่ระดับใบ 217
โหนดระดับใบ 217
โหนดราก 216
โหนดลูก 216
โหมดแม่ 216
ไคลแอนเซอฟเวอร์ 165
ไคลแอนท์ 164, 175, 693
ไบนารี 56, 64 , 214
ไพรมารีคีย์ 70
ไฟล์เก็บรายงาน 662
ไวยากรณ์ 452, 695
ไอโซเมอร์ 254
ไอคอน 520, 528, 535, 575
ไอบีเอ็ม 83, 354, 386
ไฮราร์คีย์ 499
กฎของเซต 81
กฎของมัวร์ 80
กฎทางธุรกิจ 92, 93 , 94
กราฟแท่ง 755
กราฟวงกลม 756
การเขียนคิวรีแบบออฟไลน์ 197
การเปลี่ยนชื่อ 383, 418
การแบ่งคอลัมน์ 252
การกระจายคำในไวยากรณ์ 508
การคิวรี 88
การคูณ 389, 393
การจอยที่กำหนดเงื่อนไขได้ 399, 414
การจอยน์ 449, 465
การจอยน์แบ็ก 428
การจอยน์แบบสมมาตร 400
การจอยน์สามัญ 413, 434
การฉายแสดงแถวข้อมูล 324
การดึงซับเซตของแถว 359
การดึงซับเซตของคอลัมน์ 362
การตัดยอดข้อมูล 174
การประมวลผลแบบขนาน 81
การผูกแอกกริเกต 509
การพาดพิง 122
การพาดพิงเป็นวงรอบ 124, 152
การพาดพิงทางอ้อม 122
การพาดพิงบางส่วน 124
การพาดพิงสมบูรณ์ 123
การพาดพิงหลายค่า 124
การรักษาความปลอดภัย 171
การลบ 389
การวิเคราะคิวรี 506
การสแกนดัชนีแบบคลัสเตอร์ 512
การหาร 389, 400, 401
การอัปเดตข้อมูล 88
กุญแจ 209, 407
กุญแจเสนอ 123, 145
กุญแจเอกลักษณ์ 108, 109
กุญแจแทน 109
กุญแจคลัสเตอร์ 224
กุญแจนอก 107, 209
กุญแจผสม 131, 135, 136
กุญแจร่วม 113
กุญแจหลัก 107
ข้อบังคับ 114
ข้อมูล 53, 56
ข้อมูลแบบเวลา 63
ข้อมูลกำพร้า 121
ข้อมูลที่มีพลวัต 133
ข้อมูลสถิต 133, 138
คลัสเตอร์ 53, 61 , 174, 214, 221
คลาส 851
ความปลอดภัย 572
ความสัมพันธ์ 250, 380
ความสัมพันธ์แบบจำแนกได้ 107, 135
ความสัมพันธ์แบบจำแนกไม่ได้ 107, 112, 135, 136
ความสัมพันธ์แบบศูนย์และหนึ่ง 105
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง 103
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย 104, 112, 127, 132, 138, 140
ความสัมพันธ์แบบหลายต่อหนึ่ง 134, 137, 138, 142, 144
ความสัมพันธ์แบบหลายต่อหลาย 104, 139
คอดต์ 246, 354, 383
คอมโพเนนท์ 179
คอมไพล์ 796
คอมมานด์ไลน์ 796
คอลเลชั่น 215
คอลเลชั่นภายใน (BIC) 736
คอลัมน์ที่มีข้อมูลซ้ำกัน 128, 131
คอลัมน์ผสม 328
คาเมลเคส 299
คาเมลโนเตชั่น 642
ค่าโดยปริยาย 195, 724
ค่าประเมิน 512
คาร์ทีเซียน 336, 341, 366
ค่าสะสม 343
คำจาร์กอน 95, 121, 126
คำสั่งเงื่อนไข 282
คิวบ์ 181, 550, 689
คิวรี 53, 119, 139, 182, 196, 197, 201, 237, 250, 259, 316, 337, 340, 358, 363, 863
คิวรีเอดิเตอร์ 199
คิวรีแบบประจำและแบบจร 88
คิวรีซ้อนคิวรี 451, 465, 470
คิวรีย่อย 260, 341, 346, 446, 450, 464, 561
คิวรีย่อยเพื่อตรวจหาค่า 456
คิวรีย่อยที่เกี่ยวพันกัน 457
คิวรีย่อยที่ให้ค่าเป็นชุด 456
คิวรีย่อยที่คืนค่าเดี่ยว 453
คิวรีหลัก 446, 464
คิวรีหลายชั้น 445, 453, 464, 465, 480
คิวรีออปติไมเซอร์ 510
คีย์เวิร์ด 296
คุก ไร 73
จอยน์ 139, 334, 365, 369, 389, 397, 418, 452, 480
จอยน์สามัญ 397
จาวา 72, 246, 268
ชนิดข้อมูล 62
ชนิดข้อมูลซับซ้อน 64
ชื่อเล่น 363, 470
ซอฟต์แวร์ 54, 90
ซอร์สโค้ด 796
ซับเซต 358
ซับเซตทางแนวนอน 395
ซับคิวรี 446
ซานโฮเซ่ 65
ซิกมา 359
ซีเควล 53
ซีเล็กชั่น 411, 420, 421
ซีพียู 54

ดัชนีหนังสือ DabaBase [5]


Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

ดัชนีหนังสือ DabaBase [5]

วันนี้ทำดัชนีหนังสือ DabaBase เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอนำมาโพสไว้ที่นี่ให้ดูเล่นหน่อยนะครับ

RA 364 373 393                
RAE 359 362 364 370 381 387 395 410 415    
RAET 416                    
RAID 83                    
RAISERROR 580                    
Random Access Memory (RAM) 82                    
Range Variable 354 862                  
RANK 824                    
Ranking Functions 564                    
RC 365 373                  
RCE 355 361 363 364 365 368          
RDBMS 61 65 66 162 247 451          
RDF 663                    
RDG 712                    
RDL 695                    
RE 507                    
Real time 60 180 686                
Record 67 247                  
Record Number 249                    
record set 280                    
Recursion 492                    
Recursive function 492                    
Redundant Array of Inexpensive Disks 83                    
Referential Integrity 114 437                  
Refresh 61                    
Regex 337                    
Region 550                    
Registered Servers 185                    
relation 56 247 250 380              
Relation Constraint 436                    
Relation Key 248                    
Relation Table 391                    
Relational Database Management Model 66                    
Relational Database Management System (RDBMS) 65 162                  
Relational Database Model 69                    
Relational Engine 507                    
Relative Algebra Expression Tree 416                    
release 701                    
RENAME 381 385 393 398 404            
REPLACE 339 819                  
REPLICATE 820                    
replication 517                    
Replication Schema 174                    
Replication Service 168 174                  
Report Cache 707                    
Report Data (RD) 665                    
Report Data Group 712                    
Report Definition File 663                    
Report Definition Language 695                    
Report History 705                    
Report Manager 694                    
Report Parameter Properties 723                    
Report Processor 736                    
Reporting Services 180                    
Reporting Services Configuration Manager 703                    
Reqular Expression 337                    
Resource Monitor 169                    
Restrict 381 394                  
Result 325                    
Result Set 383                    
RETRIEVE 354                    
RETURN 630 649 653                
Return Value 771                    
REVERSE 820                    
RID 222 226                  
RID Lookup 218 227                  
RIGHT 821                    
Right Outerjoin 435                    
RK 248                    
ROLLUP 347 550                  
Root node 216                    
Row Group Pane (RGP) 712                    
Row offset 222                    
row set 280                    
Row Set Stored Procedure 648                    
Row Set Sub-Query 456                    
ROW_NUMBER 563 827                  
Row-overflow 312                    
RSSQ 456                    
RTE 289 290                  
RTRIM 822                    
Safari 693                    
scalar 251                    
Scalar Function 641                    
Scalar Sub-Query 453                    
scheduled 177                    
SCHEMABINDING 574                    
schemas 269                    
scope 294                    
Script Table as 202                    
Scroll 485                    
SCSI 83                    
SE 507 513 531                
SELECT 233 280 324 331 361 381 473 495 654    
Self-join 258 264                  
Sequence Tree 508                    
Server Farm 684                    
Server Group 186                    
Server Management Object 176                    
Server Resources Package 175                    
Server Type 183                    
Service Broker 168 173 174                
Service Layer 166                    
Service-Oriented Architecture 167                    
session 173                    
SET 280                    
Set Operator 407                    
Set Relational Algebra 405                    
Shared Data Source 768                    
SINT 63                    
smalldatetime 305                    
Smalltalk 72                    
SMO 176                    
SMTP 178                    
Snapshot 704                    
SOA 167 181                  
Solaris 167                    
Solid-State Disk 82                    
solution 661                    
SOUNDEX 822                    
sp_executesql 594                    
sp_help 316                    
sp_recompile 515                    
SPACE 823                    
Specification 256                    
spreadsheet 96                    
SQEC 457                    
SQL 354                    
SQL Injection 595                    
SQL Mail 178                    
SQL Management Studio 182                    
SQL Server Agent 177                    
SQL Server Report Database 691                    
SQL2000 176 223                  
SQL2005 276                    
SQL2008 53 103 175 182 200 213 219 233 235 333 417
SQL2008 Express Edition 183                    
SQL2010 272                    
SQL7 176                    
SqlClient 849                    
SQLCmd 271                    
sqlCommand 850                    
sqlConnect 850                    
SQLOS 170                    
SRA 405                    
SSA 177                    
SSAS 181                    
SSIS 179                    
SSMS 182 183 184 189 195 196 202 230 269 278 316
SSQA 182                    
SSRS 180 668 712                
stack 277                    
Static 484 773                  
STDEV 841                    
STDEVP 842                    
Step info 276 278 495                
Step over 276                    
Storage Engine 507                    
Stored Procedure 295 298 487 606 727            
string 63 296                  
Structured Query Language (SQL) 65                    
Sub 296                    
Sub Group 715                    
Sub-Queries for Existence Checking 456                    
Sub-query 260 446                  
Subscriber 684                    
SUBSTR 337 339                  
SubString 296 337                  
Subtotal 347                    
Subtree Cost 527                    
SUM 290 291 342 347 430 531 635 841      
Surrogate Key 109 146                  
Sybase 54 162 178                
Syntax 357                    
sys.indexes 223                    
sys.objects 648                    
sysadmin 313 518                  
System R 65                    
System.Data 848                    
Tab 663                    
Table Scan 218 219 520 523              
TABLESAMPLE 304 329                  
Table-Valued Function 263 577                  
Tablix 668 712 731 733 739            
Tabular Report 660 668                  
tag 260                    
Take 859                    
Temporary Table 245 469 511 543              
Terabyte 83                    
Test environment 698                    
Text Plans 518                    
Third party developer 176                    
Thread 277                    
Three-Tier 166                    
Tight coupling 89                    
TIME 301 305 393                
TINYINT 63 589                  
Tool Tip 522                    
TOP 303 486 603                
Total 720                    
Transaction Table 133                    
Transact-SQL 170                    
Transitive Dependence 122                    
Transparency 60                    
Trigger 577                    
Trivial Plan 511                    
TRUE 394                    
try 853                    
TRY CATCH 289                    
TSID 276 278                  
T-SQL 171 244 250 268 274 276 294 328 330 338 361
TT 469                    
Tuple 247 380                  
Tuple Calculus 354                    
TVE 557 560                  
TVF 263 648 651                
UCT 335 340                  
UDA 802                    
UDF 299 640 652                
UDT 803                    
Uncomment 201                    
Underlying Table 640                    
UNICODE 313                    
UNION 302 382                  
UNION ALL 254 335 341 497              
Union Compatible 391                    
Union Compatible Tables 335                    
Unique 229                    
Unique Key 232                    
UNIX 65                    
UNPIVOT 555 561                  
USE 621 624 626                
User Defined Function 299 640                  
User Defined Type (UDT) 64 172                  
Using 850                    
Validate Check 96                    
VALUES 301                    
VAR 843                    
Variable 274                    
Variant 275 859                  
VARP 843                    
VB 268                    
VB.NET 735                    
VB6 859                    
VCHAR 63                    
Venn Diagram 260                    
View 255 371                  
View Designer 574                    
View Report 728                    
Virtual Table 245                    
Von Neumann Architecture 244                    
WAITFOR 288                    
WHERE 324 333 411 444 473 499 558 561 730    
Wild card 330                    
Windows 175                    
Windows Authentication 183                    
Windows XP 167                    
WITH 313 340 390 404              
Word 689                    
worksheet 96                    
X/Open XA 178                    
XMAL 196                    
XML 196 290 691 696              
X-Query 196                    
YEAR 345                    
z/OS 65                    

ดัชนีหนังสือ DabaBase [4]


Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

ดัชนีหนังสือ DabaBase [4]

วันนี้ทำดัชนีหนังสือ DabaBase เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอนำมาโพสไว้ที่นี่ให้ดูเล่นหน่อยนะครับ

Machine Language 82                  
Managed Code 172                  
Management Data Warehouse 533                  
Many to Many 68 102                
MAPI 178                  
Mark I 244                  
Master-Detail 130                  
Matrix 739                  
Matrix Report 686                  
MAX 342 430 626 839            
MAXRECURSION 647                  
MC 176                  
MDV 152                  
MDW 533                  
MDX 196                  
Merge Cells 752                  
Merge Join 524                  
Messaging Application Programming Interface 178                  
Meta data 247 784                
Metadata 56                  
MHTML 687                  
Microsoft Access 164                  
Microsoft Outlook 178                  
Microsoft SQL Management Studio 182                  
Microsoft SQL Server 2008 53 162                
Microsoft SQL Server Management Studio 169                  
Microsoft Visual C# 2008 Express Edition 608                  
Microsoft Visual Studio 168 194                
Middle tier 691                  
MIN 342 430 626 840            
MINUS 392                  
Molecule 251                  
money 277                  
MONTH 345                  
MotionPicture 48                  
MSN 49                  
MSVC#EE 608                  
MSVS 276                  
MSVS2008 495 661                
Multiple valued dependency 124                  
Multi-tier 167                  
Multi-tired Architecture 259 691                
MySQL 268                  
name intro 390                  
Native Queries 73                  
Natural Join 382                  
NCHAR 817                  
NCI 220 221 226 230 232 235 236 530    
NCICT 227                  
NCIH 226                  
Network database model 66 68                
New Query 231                  
New Vertical Tab Group 201                  
NEWID() 329                  
NEWSEQUENTIALID 305                  
NLLN 221                  
node 216                  
Non-Clustered 235 236                
Non-Clustered Index 216 218 222 226            
Non-Clustered Index on Clustered Table 227                  
Non-Clustered Index Scan 524                  
Non-Deterministic Function 640                  
Non-Leaf Level Node 217                  
Non-Procedural 354                  
nonproject 388                  
Normalization 118                  
NOT 330 444 447              
NOT NULL 96 313                
Notepad 695                  
Notification Services 168 176                
N-Tier 167                  
NTILE 827                  
NULL 224 292 324 329 332 347 430 435 561 590
NULLIF 292                  
o/ 858                  
O/RM 855                  
Object Database Model 71                  
Object Explorer 184 579 601              
Object Initializes 866                  
Object Oriented Database Model 72                  
Object Oriented Programming 172 244 854              
Object Query Language 73                  
Object-Relational Database Model 72                  
ODBC 271 574                
ODM 71                  
OE 187                  
OLAP 51 79 119 143 179 181 686      
OLE DB 574                  
OLPT 60 78 88 119            
OLTP 50 89 90              
On-demand Report 705                  
One to Many 67 102                
Online Analytical Processing 51 181 686              
OODM 72 854                
OOP 72 244 246 784 854          
OPENDATASOURCE 831                  
OPENQUERY 832                  
OPENROWSET 832                  
OPENXML 834                  
Operand 380                  
Operation System 170                  
Operator 380 476 524              
Optimize 372                  
OPTION 635                  
OPTION MAXRECURSION 496                  
OQL 73 380                
OR 325 444                
Oracle 54 162 178 687 691          
ORDER BY 329 331 333 338 343 429 498 589 628 635
Ordering Operator 433                  
ORDM 72                  
Organization Chart 492                  
Outer join 434                  
OUTER LEFT JOIN 365                  
OUTER RIGHT JOIN 365                  
Outerjoin 430                  
OUTPUT 624                  
Output Parameter 624                  
OVER 343 564                
OVER PARTITION BY 498                  
overflow 210                  
Page 213                  
Page Split 214 217                
Parameter 611                  
Parameterized view 653                  
Parent Table 67 106                
Parse 269 605 612              
Parse Tree 508                  
Parsing 508                  
partial Class 867                  
Partial Dependency 124                  
Partial Methods 867                  
PARTITION 343                  
PARTITION BY 563                  
PATINDEX 818                  
PDF 180 687                
per 390                  
perfmon 542                  
Pessimistic Concurrency 170                  
Physical Operation 523                  
Physical Operator 524                  
Pie Chart 764                  
PIVOT 291 555 559              
Pivot table 180 181 347 660 684 739        
PK 224 230 300 313 373 452        
PKI 209                  
PL 244 258                
PlayStation 81                  
Pointer 216                  
Portable Executable (PE) 785                  
Postgres 66                  
POWER 642                  
PowerShell 177 182 271              
Predicate Calculus 354                  
Presentation tier 691                  
Preview 663 671                
Primary Key 107                  
Primary Key indexing 209                  
PRINT 275 491                
PROC 620                  
Procedural Programming 246                  
Product 382                  
Production environment 698                  
Programming Interface 693                  
project 661                  
Projection 381                  
Projection List 433                  
Prolog 246                  
PS 217                  
Publisher 174                  
QA 368                  
QAP 506                  
QD 280                  
QE 201 233 368 574            
QO 372 507 521              
QOP 516 532                
QUEL 354                  
Query 233 381                
Query Algebrizer 509                  
Query Analyze Practicing 506                  
Query Analyzer 182                  
Query Cost 521                  
Query Designer 720                  
Query Editor 197 269                
Query Expressions 866                  
Query Optimizer 169 208 507 510            
Query Parameter 722                  
Query Parsing 508                  
Query Processor Tree 509                  
Query Statistics History (QSH) 540                  
Query Tree 508                  
QUOTENAME 819                  

ดัชนีหนังสือ DabaBase [3]


Home Page  |   รายการบทความ   |   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง   |   laploy.com  |  เกี่ยวกับผู้เขียน

ดัชนีหนังสือ DabaBase [3]

 

วันนี้ทำดัชนีหนังสือ DabaBase เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอนำมาโพสไว้ที่นี่ให้ดูเล่นหน่อยนะครับ

E/R Diagram 55                
Edgar Frank Codd 386                
EEP 514 517 518            
ELSE IF 628                
Embeddable Control 689                
ENCRYPTION 574                
End-user 92 572              
Enterprise Environment 867                
Entity 55 249              
Entity/Relation Diagram (ERD) 102                
EOC 234 235              
EP 232 515              
EPC 515                
Equi-join 400                
ERD 90 93 102            
ERROR 290                
Estimated Cost 512                
Estimated Execution Plan 514                
Estimated Number of Row 522                
Estimated Operator Cost 234 522              
Estimated Subtree Cost 522 527              
Excel 542 689              
EXCEPT 303                
EXEC 487                
Execute 274 507 588 607          
Execute and Show Plan 519                
ExecuteReader 851                
Execution Plan 232 506              
Execution Plan Cache 514                
Execution Plan Reuse 514                
EXISTS 476                
Export 689                
Expression Trees 866                
Extension Method 866                
Extent 211                
F# 246                
F5 232                
F8 202                
factorial function 644                
FECTH PRIOR 486                
FEP 259                
Field 247                
File 247                
File System 66 67              
FireFox 693                
FK 232 373              
FKI 209                
Flag 264                
FLASE 394                
Flat file 66 67              
Floating point 63                
Flow Chart 260                
foo 275                
FOR 558                
FOR/AFTER 578                
foreach 859                
Foreign Key 107                
Foreign Key Indexing 209                
FORTRAN 246                
Forward-only 485                
FREETEXTTABLE 830                
Front end 264                
Front-End Process 259                
Full Functional Dependence 123                
FULL JOIN 661                
Full-Text Search 168 175              
Functional Dependency 122                
Functional Programming 246                
Garbage Collector 172 786              
Gauge 766                
Global 294                
GO 269 624 626            
GolfClub 358                
GOTO 287                
GP 517                
GPRS 84                
Grand Total 347                
Graphical Plans 517                
Grid Computing 182                
GROUP BY 63 262 429 490 550 551 635 863  
GROUP BY ROLLUP 552                
Group Hierarchy 713                
GROUPING 838                
Grouping Attribute 432                
GUI 60                
Hard code 559                
Hash Match 524 527              
Hash Table 210                
HAVING 262 543 730            
Head table 336                
Header 669                
heap 221 222 226            
Hello world 268 788              
Heuristic Evaluation 512                
Hierarchical 499                
Hierarchical database model 66 67              
Hint 543                
Histogram 511                
HTML 687                
Hybrid database 80                
Hyperlink 733                
I/O 233 510 542            
IAEP 520                
IF 282 290 328 525 628        
IF EXITS() 283                
IF/ELSE 284                
Immediate IF 736                
Implicit Typing Variable Declaration 859 866              
IN 444 445              
INCLUDE 229 530              
Include Actual Execution Plan 519                
indent 198                
Index Organized Table 210                
Index Seek 220 234 236            
Information Technology (IT) 54                
Informix 66                
ingress 66                
Inline Table-Valued Function 653                
INNER JOIN 336 367              
INSERT 301                
insetion point 484                
Instance 169                
int 275                
Integrated debuger 276                
Integration services 179 181 182            
INTERSECT 302                
Intersection 382                
IS NOT NULL 324                
IS NULL 330                
ISAM 210                
ISK 236                
ISNULL() 472 634              
ITVD 859                
ITVF 654                
JIT 786                
Join 381 446 469            
Key 96                
Key Lookup 220 236 237            
Key Performance Indicators 766                
Keyboard Shortcut Scheme 194                
Keyword 53 476              
label 287                
Lambda Expression 866                
LAN 165                
Language Interacted Query 854                
Larry Niven 110                
Latin1_General 215                
Lazy Writer 169                
Lazywriter 515                
Leaf Level Node 217                
LEFT 815                
Left Outerjoin 435                
Legend 760                
LEN 338 815              
LIKE 330 623              
Linear Expression 421                
Linear Notation 421                
LINQ 73 854              
LINQ to DataSet 866                
LINQ to Entities 866                
LINQ to Object 866                
LINQ to SQL 855 858              
LINQ to XML 866                
LIPS 72                
List 733                
LLN 221 235              
Local Server Groups 186                
localhost 610                
Lock 170                
Lock Manager 169 170              
locking 543                
logging 543                
Logic Tier 166                
Logical Operation 523                
Logical Operator 524                
LONGINT 63                
Lookup Table 299                
Loop 494                
Loose coupling 89 620              
LOWER 816                
LTRIM 817